วันพฤหัสบดีที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2555

Advanced Web Development : Week 4

ศึกษาข้อกฎหมาย SOPA และ PIPA แล้วตอบคำถามดังต่อไปนี้


1. SOPA และ PIPA คืออะไร ต่างกันอย่างไร
           - SOPA ย่อมาจาก Stop Online Piracy Act คือ ร่างกฏหมายของประเทศสหรัฐอเมริกา (USA) ซึ่งมีจุดประสงค์คือ ต้องการหยุดการละเมิดลิขสิทธิ์บนอินเตอร์เน็ต   เพื่อป้องกันการคัดลอกข้อมูลทรัพย์สินทางปัญญาที่มีอยู่อย่างมากมายบนอินเตอร์เน็ตครับ โดย SOPA จะทำให้เจ้าของลิขสิทธิ์ทางปัญญา เช่น ค่ายเพลง ค่ายหนัง สามารถฟ้องร้องต่อ การละเมิดลิขสิทธิ์ของตนได้
- PIPA นั้นมาจาก Protect IP Act หรือ พ.ร.บ. คุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาครับ ซึ่งเหมือนกับเป็นลูกพี่ลูกน้องของ SOPA นี่แหละ เจ้า พ.ร.บ. นี้แรงเอาการครับ เพราะมีเนื้อหาที่บอกว่า ให้ผู้ให้บริการนั้นดำเนินการลบหรือระงับการเข้าถึงเว็บไซต์ที่ละเมิด พ.ร.บ.
- ความแตกต่างของ SOPA กับ PIPA ก็คือ ในขณะที่ PIPA นั้นจะมีเป้าหมายไปที่ตัวผู้ให้บริการ DNS, พวกบริษัทไฟแนนซ์ และพวกเครือข่ายโฆษณาต่างๆ ไม่ได้เกี่ยวกับผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต แต่ว่า SOPA นั้นกินวงกว้างกว่า โดยให้อัยการสหรัฐสามารถขอให้ศาลังคับคดี เพื่อให้ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต (Internet Service Provider หรือ ISP) บล็อกไม่ให้เข้าถึงเว็บไซต์นั้นๆ ได้ แถมต้องทำโดยไวด้วย แบบว่าเร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้ หรือภายใน 5 วันหลังได้คำสั่งศาล หรือภายในเวลาที่ศาลกำหนด ซึ่งตรงนี้ระบุไว้ในมาตราที่ 102

2. ทั้งสองฉบับมีผลต่อเว็บไซต์ประเภทไหน อย่างไร
          - Blog , วีดีโอจากyoutube , วงการเพลง ,ข่าว , บริการค้นหาเว็บไซต์ , เว็บสังคมออนไลน์, Google, Facebook, Twitter, Zynga, eBay, Mozilla, Yahoo!, AOL และ LinkedIn


3. ท่านคิดว่า ทั้งสองฉบับมีผลต่อเว็บไซต์ที่อยู่ในเซอร์เวอร์ของไทย หรือไม่ อย่างไร 
           - มีผลกระทบอย่างมาก สามารถสั่งห้าม “ลิงก์” ไปยังเว็บไซต์ที่มีเนื้อหาละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา ถ้าผ่านการพิจารณาแล้ว..เว็บต่างๆหลายแห่งที่เป็นพวกละเมิดลิขสิทธิ์ โหลดบิท ลิ้งไปเว็บผิดกฏหมายจะถูกบล็อค เซ็นเซอร์และปิดเว็บไซต์กันเพียบ

4. โปรดแสดงความคิดเห็น กับกรณีที่โปรแกรมเมอร์และเว็บมาสเตอร์ออกมาต่อต้านกฎหมายนี้
           - เป็นการปิดกั้นการสร้างนวัตกรรมออนไลน์ใหม่ๆ รวมทั้งการใช้ SOPA/PIPA เป็นเครื่องมือโจมตีเว็บไซต์ต่างๆ ที่ไม่รู้เท่าทันและกลายเป็นเหยื่อของกฏหมาย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น